วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ตอบคำถาม

ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี
รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง 

  ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้

 ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น 
          ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้ 
          ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา 
          ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ความหมายโดยทั่วไป

ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้

          1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
          2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
          3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ


ความหมายตามกฎหมาย

ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ 
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา 
เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา


ยาเสพติดส่งผลกระทบต่อบุคลากรในโรงเรียนในเรื่องความน่าเชื่อในการมาเรียนขอนักเรียนต่างชุมชน ทำให้ผู้ปกครองไม่ไว้ใจบุลลากรในโรงเรียนว่าจะ ได้ดูแลลูกหลานของท่านหรือไหม และทำให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียงในด้านต่างๆ เช่่นด้านสังคม ด้านความพึงพอใจของผู้ปกครอง 

                                                                 cr. http://www.chetupon.ac.th/Yasebtid/Pages/WhatisDrug1.html






    ปัจจุบัน “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)” ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานหลายสาขา โดยเฉพาะเป็นงานแก้ไขปัญหาที่ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากและต้องมีการทำงานร่วมกันในหลายภาคส่วน เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ด้านภัยธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข และที่กำลังเป็นปัญหาระดับชาติ คือ ปัญหาด้านยาเสพติด ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ได้นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเมื่อครั้งที่ผมดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้เล็งเห็นประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จึงได้ริเริ่มนำระบบดังกล่าวมาใช้แก่ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังลำปางเป็นจังหวัดแรก เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์และได้รับรางวัลดีเด่นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดจากคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลนายกรัฐมนตรี (Prime Minister Award)

     เนื่องจากสถานการณ์ยาเสพติดในขณะนั้นได้ทวีความรุนแรงครอบคลุมในเกือบทุกหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ แพร่ระบาดเข้าสู่ครอบครัว สถานศึกษา โรงงาน สถานบริการ ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ระยะแรกๆ เป็นเพียงผู้เสพจนกระทั่งกลายเป็นผู้ค้ารายย่อยเพื่อหาเงินนำไปซื้อยาเสพติด ได้แก่ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) สารระเหย กัญชาและยาไอซ์
เหตุผลและความจำเป็นในการใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
      ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของชาติ ซึ่งการดำเนินการแก้ไขปัญหาจะต้องเกี่ยวข้องกับส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำหรับส่วนกลาง ได้แก่ ระดับกระทรวง ทบวง กรม และส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคประชาสังคมในแต่ละหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีส่วนราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในแต่ละจังหวัดรวมถึงอำเภออีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานจำนวนมากนี้ ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาการทำงานที่เรียกว่า “ซ้ำซ้อน” กัน เป็นลักษณะต่างคนต่างทำ สิ้นเปลืองงบประมาณ ขาดประสิทธิภาพและขาดประสิทธิผล
      แนวความคิดบริหารจัดการกับปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการตามยุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดิน” โดยกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก และมีการรวมพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (Coordination) กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งแนวราบและแนวดิ่ง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน (Particpation) เป็นการบริหารจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการที่มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนและเป็นทิศทางเดียวกัน “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)” จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของแผนที่ 5 ระดับ ประกอบด้วยระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และครัวเรือน โดยนำระบบดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินการดังนี้
      1. การวางแผนและกำหนดนโยบาย และบริหารจัดการ มีตัวชี้วัดและการกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติดในแต่ละหมู่บ้าน และระบุถึงระดับครัวเรือน
      2. การกำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกันของทุกส่วนราชการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หรืออีกในหนึ่ง คือ ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน
      3. การจัดสรรงบประมาณสำหรับการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพลดความซ้ำซ้อน ใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า
      4. การติดตามประเมินผล แผนงานโครงการ ทั้งในด้านป้องกันปราบปราม บำบัดฟื้นฟู และการกลับคืนสู่สังคม โดยมีการติดตามประเมินผลสถานการณ์ยาเสพติดในระดับจังหวัด เป็นรายอำเภอ และตำบล ตามลำดับ
      แนวทางดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
      จากยุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดิน”ได้แปลงเป็นแนวทางดำเนินการโดยการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการใน 3 ด้าน คือ การป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟู โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจน โดยเฉพาะใช้ในการประเมินผลสำเร็จของงาน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการดังนี้
      1. มาตรการป้องกัน โดยการลดอุปสงค์ (Demand Reduction) ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการขยายตัวของยาเสพติด เมื่อมีการขยายตัวกลุ่มผู้เสพมากขึ้น จำนวนยาเสพติดก็จะเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้เสพ ดังนั้นจึงมาตรการในการลดจำนวนผู้เสพ โดยการรณรงค์สร้างจิตสำนึก สร้างภูมิคุ้มกัน จัดโครงการนักเรียนเยี่ยมคุก โครงการโรงดรียนสีขาว และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมให้เกิดประชาคมหมู่บ้านต้านยาเสพติด นอกจากนี้ยังดำเนินการลดปัจจัยเอื้อที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น มาตรการเข้มงวดเกี่ยวกับเด็กที่มีอายุตำกว่า 20 ปี เข้าไปมั่วสุมในสถานบริการและสถานประกอบการต่างๆ เป็นต้น ตลอดจนมีการทำประชาคมร่วมกันในมาตรป้องกันยาเสพติดระหว่างหน่วยงานราชการ โรงงาน และสถานประกอบการต่างๆ และสถานศึกษา
      2. มาตรการปราบปรามโดยใช้มาตรการสกัดกั้นวัตถุดิบสารตั้งต้นและตัวยาเสพติดที่นำเข้าจากต่างประเทศทำลายเครือข่ายวงจรการค้ายาเสพติด การตั้งด่านสกัด การสร้างระบบข่าวโดยมีสมาชิกในการแจ้งข่าว รวมถึงการตั้งอาสาสมัครยาเสพติดในหมู่บ้าน นอกจากนี้ มีการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยงข้องกับยาเสพติดโดยมีการลงโทษอย่างเฉียบขาด
      3. การจัดข้อมูลสารสนเทศและประชาคม
      3.1 การจัดระบบฐานข้อมูลเป็นการจัดระบบที่หลากหลายและกระจัดกระจายมาจัดให้เป็นหมวดหมู่ มีการบริหารจัดการข้อมูลแบบบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นข้อมูลชุดเดียวกันที่ถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระบบ มีความชัดเจน และมีความสะดวกในการเรียกใช้งาน
      3.2การจัดทำแผนที่สถานการณ์โดยระบบ GIS (Geographic Information System) เพื่อให้รู้และสามารถจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนและรุนแรงของปัญหาในการดำเนินงาน โดยมีการแบ่งพื้นที่เป้าหมายเป็นระดับสี (zoning) ตามระดับความรุนแรงของปัญหาในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งฐานข้อมูลในระบบ GIS สามารถที่จะระบุหรือบ่งชี้เป้าหมายได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ฐานข้อมูลเกี่ยวกับการรักษายาเสพติดที่มีอยู่ซึ่งเกี่ยงข้องกับผู้ผลิต ผู้ค้าทั้งรายใหญ่รายย่อย ผู้เสพและกลุ่มเสี่ยง ซึ่งจำเป็นต้องมีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนหรือภาคประชาสังคมในทุกหมู่บ้านโดยใช้วิธีที่เรียกว่า X-RATS ประกอบด้วยฐานข้อมูลจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและมีการกลั่นกรอง (screen) ข้อมูลโดยภาคประชาสังคมในหมู่บ้าน
      3.3 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานมีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลร่วมกันในการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
      อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ใดนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความรุนแรงมากน้อยหรือปานกลางของในแต่ละพื้นที่ ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในระดับหมูบ้านและครัวเรือนจะช่วยให้ภาครัฐดำเนินมาตรการทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจชุมชนและมาตรการทางกฎหมายได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ จากบทเรียนและประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผ่านมาของจังหวัดลำปาง การดำเนินการทั้งทางด้านปริมาณ (Quantitative) และด้านคุณภาพ (Qualitative) จำนวนผู้ผลิต ผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย ผู้เสพและกลุ่มเสี่ยง ลดลงอย่างมาก แต่สำหรับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับชาตินั้นยังเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาคประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหารวมถึงสร้างจิตสำนึกร่วมกัน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบยั่งยืน.....
เรียบเรียงโดย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 

http://nctc.oncb.go.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=1168:-gis-&catid=182:-2555&Itemid=2







ผลกระทบของสารเสพติด
     ท่านทราบหรือไม่ว่าปัญหาการติดยาเสพติด เป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งทางสาธารณสุข และผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นกลายเป็นวงจรอันเลวร้ายที่ไม่อาจตัดส่วนใดออกไปได้เลยดังนี้
1.   ด้านสุขภาพอนามัย ผู้ตกเป็นทาสสารเสพติดเกือบทุกประเภทร่างกายจะซูบซีด ผอมเหลือง เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ความคิดอ่านช้า ความจำเสื่อม ขาดสติ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และจะเสียชีวิตในที่สุด
2.   ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากสารเสพติดทุกประเภทผู้เสพจะต้องเพิ่มยาให้มากขึ้นตลอดเวลาและหยุดเสพไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องสูญเสียเงินทองสำหรับซื้อยามาเสพไม่มีที่สิ้นสุด ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังเช่นคนปกติทั่วไป ครอบครัวและรัฐต้องสูญเสียแรงงานไป ดังนั้น จึงส่งผงเสียหายต่อเศรษฐกิจ ทั้งของตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติโดยส่วนรวม
3.   ด้านสังคม สารเสพติดยังเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอาชญากรรม เพราะผู้ติดยาจำเป็นต้องใช้เข็มสำหรับฉีดยาเสพติดเป็นประจำทุกวัน และจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การประกอบอาชีพสุจริตทั่วๆ ไปนั้นย่อมเป็นการยากที่จะหาเงินมาซื้อสารเสพติดได้อย่างพอเพียง และในสภาพความเป็นจริงผู้ติดยาจะไม่มีใครคบค้าหรือร่วมสมาคมด้วยเหตุนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาการพนัน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ เป็นต้น
4.   ด้านความมั่นคงของชาติ ความร้ายแรงของสารเสพติดมีผลโดยตรงต่อความมั่นคงของประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะถ้าประเทศใดมีประชากรติดสารเสพติดจำนวนมาก ประเทศนั้นก็จะอ่อนแอ เศรษฐกิจเสียหาย มีปัญหาสังคมต่างๆ เหล่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของประเทศ
cr. http://nctc.oncb.go.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=1122:2555-02-21-02-m-s&catid=239:all-content&Itemid=270




โทษของสารเสพติด
โทษภัยต่อครอบครัว
•  ทำลายความสุขในบ้าน ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ตามมาจนอาจทวีความรุนแรงให้ครอบครัวแตกแยก
•  สูญเสียรายได้ของครอบครัว เนื่องจากมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการซื้อ ยาเสพติด หรือบำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด
•  พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขาดที่พึ่งในยามเจ็บป่วยหรือชราภาพ
•  ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล และเป็นที่รังเกียจของสังคม
•  ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เพราะคนในครอบครัวที่มีปัญหายาเสพติด มักจะก่ออาชญากรรม
โทษภัยต่อชุมชนและสังคม
•  ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆในชุมชน
•  เป็นบ่อเกิดให้ชุมชนเสื่อมโทรม สังคมถูกทำลาย
•  ทำลายเยาวชน อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนและสังคม
•  ทำให้การพัฒนาชุมชน และสังคมในด้านต่าง ๆเป็นไปอย่างเชื่องช้า
•  สูญเสียรายได้ของชุมชนและสังคม
•  ทรัพย์สินของคนในชุมชนและสังคมเสียหาย เนื่องจากพฤติกรรมทางจิตประสาท
•  ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุเนื่องจากฤทธิ์ของยา
•  ก่อให้เกิดปัญหาโรคเอดส์
โทษภัยต่อประเทศชาติ
•  บ่อนทำลายเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศชาติ
•  รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายในการป้องกันปราบปรามและรักษาผู้ติดยาเสพติดจำนวนมาก
•  สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับการพัฒนาประเทศ
•  เพิ่มภาระการเสียภาษีของประชาชน เพราะรัฐบาลต้องนำภาษีของประชาชนไปใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
•  การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า
•  สูญเสียแรงงานในการปฏิบัติงานทำให้ประเทศขาดรายได้
•  ประเทศชาติต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ในสายตาของชาวต่างประเทศ
•  อาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งทางการเมืองหรือความไม่สงบระหว่างประเทศ
•  ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อชาติอาจใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายความมั่นคง
•  ประเทศชาติพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า

   
     

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การวางแผน

การวางแผน
1 อภิปรายและศึกษาหัวข้อ
2 ค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และหนังสือ และบอกแหล่งที่มา
3 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณครู
4 ถามคุณครูพิจารณาและแก้ไข
5 นำสรุปลงใน คอมพิวเตอร์ และแอนดิไลค์

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การตั้งคำถาม

การตั้งคำถาม
1 ยาเสพติดชุกชุมในโรงเรียน
คำถาม
ยาเสพติดชุกชมในโรงเรียนเพราะนักเรียนหรือบุคคลภายนอกสถานที่ภายในโรงเรียน
ถ้านักเรียนนำยาเสพติดเข้ามาในโรงเรียนจะเกิดผลกระทบอะไรต่อตัวนักเรียน และโรงเรียน
ถ้านักเรียนนำยาเสพมาขายในโรงเรียน จะส่งผลกระทบต่อบุลลากรในโรงเรียนอย่างไร

การตั้งสมมุติฐาน
ยาเสพติดชุกชุมในโรงเรียนเพราะบุคคลภายนอกโรงเรียนจำหน่ายให้นักเรียน
นักนักเรียนนำยาเสพติดเข้ามาเสพในโรงเรียน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวนักเรียนและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ถ้านักเรียนนำยาเสพติดมาจำหน่ายในโรงเรียนจะส่งผลกระทบต่อบุคคลลากรในโรงเรียนในด้านความน่าเชื่อถือ จากผู้ปกครองของนักเรียน และความไม่มั่นใจในการให้ลูกหลานของตนมาสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนที่มียาเสพติดชุกชุม เพราะอาจส่งผลกระทบที่อันตรายต่อบุตรหลานของผู้ปกครอง

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การตั้งคำถาม

การตั่งคำถาม

1. ทำยาเสพติดถึงชุกชุมในโรงเรียน


2. ทำไมสุนัขไร้บ้าน จึงมากนักในชุมชน


3. ทำไมไม่มีการบำบัดน้ำเสียในแม่น้ำ


เลือกคำถามข้อ 1 เหตุผลเพราะ
ยาเสพติดชุกชุมในโรงเรียนเยอะมาก อาจเป็นอันตรายต่อนักเรียน
และทำให้โรงเรียนได้รับคำตำหนิจากประชาชน





วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

ประวัติผู้เขียนบล็อก

ด.ช. นันทิภาคย์ นามสกลุล คงแก้ว

เลขที่ 8 ชั้น ม.2/4

ชื่อเล่น เจมส์

อายุ 14 ปี

ศาสนา พุทธ

สัตว์เลี้ยง สุนัข ปลา

อาหารที่ชอบ ข้าวผัด

สัตว์ที่ชอบ ปลาทอง

ที่อยู่ 76 ถนนจันทร์ทรานนท์

ตำบล ชะอวด อำเภอ ชะอวด

จังหวัด นครศรีธรรมราช ไปรษณีย์ 80180

ช่องทางการติดต่อ

https://www.facebook.com/gikiydgfhd

0937502201

คติประจำใจ จงทำตัวให้มีค่า