รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
ความหมายโดยทั่วไป
ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้
1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ
2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ
ความหมายตามกฎหมาย
ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา
เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา
เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ยาเสพติดส่งผลกระทบต่อบุคลากรในโรงเรียนในเรื่องความน่าเชื่อในการมาเรียนขอนักเรียนต่างชุมชน ทำให้ผู้ปกครองไม่ไว้ใจบุลลากรในโรงเรียนว่าจะ ได้ดูแลลูกหลานของท่านหรือไหม และทำให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียงในด้านต่างๆ เช่่นด้านสังคม ด้านความพึงพอใจของผู้ปกครอง
ปัจจุบัน “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)” ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานหลายสาขา โดยเฉพาะเป็นงานแก้ไขปัญหาที่ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากและต้องมีการทำงานร่วมกันในหลายภาคส่วน เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ด้านภัยธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข และที่กำลังเป็นปัญหาระดับชาติ คือ ปัญหาด้านยาเสพติด ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ได้นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเมื่อครั้งที่ผมดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้เล็งเห็นประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จึงได้ริเริ่มนำระบบดังกล่าวมาใช้แก่ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังลำปางเป็นจังหวัดแรก เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์และได้รับรางวัลดีเด่นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดจากคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลนายกรัฐมนตรี (Prime Minister Award)
เนื่องจากสถานการณ์ยาเสพติดในขณะนั้นได้ทวีความรุนแรงครอบคลุมในเกือบทุกหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ แพร่ระบาดเข้าสู่ครอบครัว สถานศึกษา โรงงาน สถานบริการ ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ระยะแรกๆ เป็นเพียงผู้เสพจนกระทั่งกลายเป็นผู้ค้ารายย่อยเพื่อหาเงินนำไปซื้อยาเสพติด ได้แก่ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) สารระเหย กัญชาและยาไอซ์
เหตุผลและความจำเป็นในการใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของชาติ ซึ่งการดำเนินการแก้ไขปัญหาจะต้องเกี่ยวข้องกับส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำหรับส่วนกลาง ได้แก่ ระดับกระทรวง ทบวง กรม และส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคประชาสังคมในแต่ละหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีส่วนราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในแต่ละจังหวัดรวมถึงอำเภออีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานจำนวนมากนี้ ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาการทำงานที่เรียกว่า “ซ้ำซ้อน” กัน เป็นลักษณะต่างคนต่างทำ สิ้นเปลืองงบประมาณ ขาดประสิทธิภาพและขาดประสิทธิผล
แนวความคิดบริหารจัดการกับปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการตามยุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดิน” โดยกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก และมีการรวมพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (Coordination) กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งแนวราบและแนวดิ่ง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน (Particpation) เป็นการบริหารจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการที่มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนและเป็นทิศทางเดียวกัน “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)” จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของแผนที่ 5 ระดับ ประกอบด้วยระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และครัวเรือน โดยนำระบบดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินการดังนี้
1. การวางแผนและกำหนดนโยบาย และบริหารจัดการ มีตัวชี้วัดและการกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติดในแต่ละหมู่บ้าน และระบุถึงระดับครัวเรือน
2. การกำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกันของทุกส่วนราชการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หรืออีกในหนึ่ง คือ ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน
3. การจัดสรรงบประมาณสำหรับการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพลดความซ้ำซ้อน ใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า
4. การติดตามประเมินผล แผนงานโครงการ ทั้งในด้านป้องกันปราบปราม บำบัดฟื้นฟู และการกลับคืนสู่สังคม โดยมีการติดตามประเมินผลสถานการณ์ยาเสพติดในระดับจังหวัด เป็นรายอำเภอ และตำบล ตามลำดับ
แนวทางดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
จากยุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดิน”ได้แปลงเป็นแนวทางดำเนินการโดยการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการใน 3 ด้าน คือ การป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟู โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจน โดยเฉพาะใช้ในการประเมินผลสำเร็จของงาน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการดังนี้
1. มาตรการป้องกัน โดยการลดอุปสงค์ (Demand Reduction) ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการขยายตัวของยาเสพติด เมื่อมีการขยายตัวกลุ่มผู้เสพมากขึ้น จำนวนยาเสพติดก็จะเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้เสพ ดังนั้นจึงมาตรการในการลดจำนวนผู้เสพ โดยการรณรงค์สร้างจิตสำนึก สร้างภูมิคุ้มกัน จัดโครงการนักเรียนเยี่ยมคุก โครงการโรงดรียนสีขาว และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมให้เกิดประชาคมหมู่บ้านต้านยาเสพติด นอกจากนี้ยังดำเนินการลดปัจจัยเอื้อที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น มาตรการเข้มงวดเกี่ยวกับเด็กที่มีอายุตำกว่า 20 ปี เข้าไปมั่วสุมในสถานบริการและสถานประกอบการต่างๆ เป็นต้น ตลอดจนมีการทำประชาคมร่วมกันในมาตรป้องกันยาเสพติดระหว่างหน่วยงานราชการ โรงงาน และสถานประกอบการต่างๆ และสถานศึกษา
2. มาตรการปราบปรามโดยใช้มาตรการสกัดกั้นวัตถุดิบสารตั้งต้นและตัวยาเสพติดที่นำเข้าจากต่างประเทศทำลายเครือข่ายวงจรการค้ายาเสพติด การตั้งด่านสกัด การสร้างระบบข่าวโดยมีสมาชิกในการแจ้งข่าว รวมถึงการตั้งอาสาสมัครยาเสพติดในหมู่บ้าน นอกจากนี้ มีการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยงข้องกับยาเสพติดโดยมีการลงโทษอย่างเฉียบขาด
3. การจัดข้อมูลสารสนเทศและประชาคม
3.1 การจัดระบบฐานข้อมูลเป็นการจัดระบบที่หลากหลายและกระจัดกระจายมาจัดให้เป็นหมวดหมู่ มีการบริหารจัดการข้อมูลแบบบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นข้อมูลชุดเดียวกันที่ถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระบบ มีความชัดเจน และมีความสะดวกในการเรียกใช้งาน
3.2การจัดทำแผนที่สถานการณ์โดยระบบ GIS (Geographic Information System) เพื่อให้รู้และสามารถจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนและรุนแรงของปัญหาในการดำเนินงาน โดยมีการแบ่งพื้นที่เป้าหมายเป็นระดับสี (zoning) ตามระดับความรุนแรงของปัญหาในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งฐานข้อมูลในระบบ GIS สามารถที่จะระบุหรือบ่งชี้เป้าหมายได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ฐานข้อมูลเกี่ยวกับการรักษายาเสพติดที่มีอยู่ซึ่งเกี่ยงข้องกับผู้ผลิต ผู้ค้าทั้งรายใหญ่รายย่อย ผู้เสพและกลุ่มเสี่ยง ซึ่งจำเป็นต้องมีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนหรือภาคประชาสังคมในทุกหมู่บ้านโดยใช้วิธีที่เรียกว่า X-RATS ประกอบด้วยฐานข้อมูลจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและมีการกลั่นกรอง (screen) ข้อมูลโดยภาคประชาสังคมในหมู่บ้าน
3.3 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานมีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลร่วมกันในการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ใดนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความรุนแรงมากน้อยหรือปานกลางของในแต่ละพื้นที่ ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในระดับหมูบ้านและครัวเรือนจะช่วยให้ภาครัฐดำเนินมาตรการทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจชุมชนและมาตรการทางกฎหมายได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ จากบทเรียนและประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผ่านมาของจังหวัดลำปาง การดำเนินการทั้งทางด้านปริมาณ (Quantitative) และด้านคุณภาพ (Qualitative) จำนวนผู้ผลิต ผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย ผู้เสพและกลุ่มเสี่ยง ลดลงอย่างมาก แต่สำหรับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับชาตินั้นยังเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาคประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหารวมถึงสร้างจิตสำนึกร่วมกัน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบยั่งยืน.....
เรียบเรียงโดย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
http://nctc.oncb.go.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=1168:-gis-&catid=182:-2555&Itemid=2
ผลกระทบของสารเสพติด
ท่านทราบหรือไม่ว่าปัญหาการติดยาเสพติด เป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งทางสาธารณสุข และผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นกลายเป็นวงจรอันเลวร้ายที่ไม่อาจตัดส่วนใดออกไปได้เลยดังนี้
1. ด้านสุขภาพอนามัย ผู้ตกเป็นทาสสารเสพติดเกือบทุกประเภทร่างกายจะซูบซีด ผอมเหลือง เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ความคิดอ่านช้า ความจำเสื่อม ขาดสติ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และจะเสียชีวิตในที่สุด
2. ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากสารเสพติดทุกประเภทผู้เสพจะต้องเพิ่มยาให้มากขึ้นตลอดเวลาและหยุดเสพไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องสูญเสียเงินทองสำหรับซื้อยามาเสพไม่มีที่สิ้นสุด ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังเช่นคนปกติทั่วไป ครอบครัวและรัฐต้องสูญเสียแรงงานไป ดังนั้น จึงส่งผงเสียหายต่อเศรษฐกิจ ทั้งของตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติโดยส่วนรวม
3. ด้านสังคม สารเสพติดยังเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอาชญากรรม เพราะผู้ติดยาจำเป็นต้องใช้เข็มสำหรับฉีดยาเสพติดเป็นประจำทุกวัน และจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การประกอบอาชีพสุจริตทั่วๆ ไปนั้นย่อมเป็นการยากที่จะหาเงินมาซื้อสารเสพติดได้อย่างพอเพียง และในสภาพความเป็นจริงผู้ติดยาจะไม่มีใครคบค้าหรือร่วมสมาคมด้วยเหตุนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาการพนัน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ เป็นต้น
4. ด้านความมั่นคงของชาติ ความร้ายแรงของสารเสพติดมีผลโดยตรงต่อความมั่นคงของประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะถ้าประเทศใดมีประชากรติดสารเสพติดจำนวนมาก ประเทศนั้นก็จะอ่อนแอ เศรษฐกิจเสียหาย มีปัญหาสังคมต่างๆ เหล่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของประเทศ
cr. http://nctc.oncb.go.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=1122:2555-02-21-02-m-s&catid=239:all-content&Itemid=270
โทษของสารเสพติด
โทษภัยต่อครอบครัว
• ทำลายความสุขในบ้าน ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ตามมาจนอาจทวีความรุนแรงให้ครอบครัวแตกแยก
• สูญเสียรายได้ของครอบครัว เนื่องจากมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการซื้อ ยาเสพติด หรือบำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด
• พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขาดที่พึ่งในยามเจ็บป่วยหรือชราภาพ
• ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล และเป็นที่รังเกียจของสังคม
• ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เพราะคนในครอบครัวที่มีปัญหายาเสพติด มักจะก่ออาชญากรรม
โทษภัยต่อชุมชนและสังคม
• ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆในชุมชน
• เป็นบ่อเกิดให้ชุมชนเสื่อมโทรม สังคมถูกทำลาย
• ทำลายเยาวชน อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนและสังคม
• ทำให้การพัฒนาชุมชน และสังคมในด้านต่าง ๆเป็นไปอย่างเชื่องช้า
• สูญเสียรายได้ของชุมชนและสังคม
• ทรัพย์สินของคนในชุมชนและสังคมเสียหาย เนื่องจากพฤติกรรมทางจิตประสาท
• ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุเนื่องจากฤทธิ์ของยา
• ก่อให้เกิดปัญหาโรคเอดส์
โทษภัยต่อประเทศชาติ
• บ่อนทำลายเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศชาติ
• รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายในการป้องกันปราบปรามและรักษาผู้ติดยาเสพติดจำนวนมาก
• สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับการพัฒนาประเทศ
• เพิ่มภาระการเสียภาษีของประชาชน เพราะรัฐบาลต้องนำภาษีของประชาชนไปใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
• การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า
• สูญเสียแรงงานในการปฏิบัติงานทำให้ประเทศขาดรายได้
• ประเทศชาติต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ในสายตาของชาวต่างประเทศ
• อาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งทางการเมืองหรือความไม่สงบระหว่างประเทศ
• ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อชาติอาจใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายความมั่นคง
• ประเทศชาติพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า
|
|